คำเตือน


               บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา.....ต้องปฏิบัติตัวให้ถูกต้อ
 
 ในที่นี้เราจะพูดถึงเฉพาะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน  เช่นกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืดเท่านั้น ไม่รวมถึงการบาดเจ็บ
ที่รุนแรงจนกระดูกหัก
 
เมื่อบาดเจ็บแล้วทำอย่างไรดี
     ควรเริ่มการรักษาทันทีหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ และควรได้รับการฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่องจนหายดี
แล้วจึงกลับไปเล่นกีฬาเหมือนเดิม เนื้อหาที่ท่านกำลังจะอ่านต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
แต่ถ้าท่านไม่แน่ใจหรือในกรณีที่เป็นมากก็ควรปรึกษาแพทย์
 
จะลดอาการปวดและบวมได้อย่างไร
    ความเจ็บปวดจะเกิดทันทีหลังจากได้รับบาดเจ็บและมักมีอาการบวมตามมา
1. สิ่งแรกที่จะต้องทำหลังจากนั้นก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวบริเวณที่บาดเจ็บให้มากที่สุด เช่นการใช้ไม้ดามที่ข้อเข่า
2. ต่อจากนั้นให้ประคบด้วยความเย็น เช่นใช้ผ้าหุ้มก้อนน้ำแข็ง ออกแรงกดเล็กน้อยบริเวณที่บาดเจ็บ ความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว
ช่วยให้เลือดหยุดเร็วไม่ออกมากภายในเนื้อเยื่อ จะช่วยไม่ให้การบาดเจ็บเป็นมาก ผ่อนหนักให้เป็นเบาลด หรือป้องกันอาการอักเสบ
และบวม ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น
เมื่อเกิดการบาดเจ็บใหม่ๆในระยะ 24-48ชั่วโมงแรก  ให้ใช้ความเย็น ไม่ใช่ความร้อน
ขอให้จำตรงนี้ให้ดีๆเพราะเท่าที่พบมีคนที่ไม่ทราบหรือเข้าใจผิดเป็นจำนวนมากที่นิยมใช้ความร้อน เช่นทาด้วยยาหม่อง
หรือครีมนวดที่ทาแล้วร้อน ทำให้เส้นเลือดขยายตัว เป็นสาเหตุให้เลือดที่ออกหยุดยาก เกิดอาการบวมมากขึ้นได้
3. อีกอย่างที่จะช่วยลดอาการบวมได้ก็คือการยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูง เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ไม่คั่งอยู่บริเวณที่บาดเจ็บ เช่นในกรณีข้อเท้าแพลง เวลานั่งควรยกเท้าพาดเก้าอี้ ไม่ควรนั่งห้อยเท้านานๆ เวลานอนก็หาม้วนผ้ามาหนุนเท้าให้สูงขึ้นจะดีมาก
4. ถ้าปวดมากก็อย่าลืมกินยาแก้ปวด ยาพาราเซตตามอล เป็นยาที่ได้ผลดีและค่อนข้างปลอดภัย สามารถหาซื้อมากินเองได้
(ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคตับ)  ส่วนยาต้านอาการอักเสบอาจเกิดผลข้างเคียงได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคกระเพาะ
จึงควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
 
วิธีช่วยลดการอักเสบ
             เมื่อพ้นระยะ 24-72 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ) การใช้เครื่องช่วยพยุงก็จะช่วยปกป้องส่วนที่บาดเจ็บได้
เช่นการใช้ไม้ค้ำยันหรือไม้เท้าในกรณีบาดเจ็บที่ขา  การใส่ผ้ายืดรัดที่ข้อศอก หรือการใส่ปลอกคอ เป็นต้น
           ในระยะนี้ควรจะใช้ความร้อนช่วยด้วย เราใช้ความร้อนได้จากหลายรูปแบบ
1. เครื่องมือทางกายภาพ เช่น กระเป๋าไฟฟ้า  ถุงร้อน  อัลตร้าซาว
2. การใช้ยาเฉพาะที่   ในท้องตลาดมีหลายรูปแบบ เช่นครีม โลชั่น น้ำมัน  บางชนิดก็ทำออกมาในรูปแบบของสเปรย์
เพื่อความสะดวกในการใช้  มีข้อควรระวังก็คือการแพ้ยาและต้องระวังการใช้ยาในบริเวณผิวหนังที่อ่อนบางเพราะอาจร้อนเกิน
เกิดอันตรายต่อผิวหนังได้ ดังนั้นจึงควรเลือกยาที่ใช้ได้ง่ายและมีผลข้างเคียงน้อย
 
จะเริ่มออกกำลังได้เมื่อไร
    ความจริงแล้วเราเริ่มออกกำลังได้ตั้งแต่ระยะแรก แต่จะไม่มีการเคลื่อนไหวของส่วนที่บาดเจ็บ  จะยกตัวอย่างใน
กรณีของการบาดเจ็บที่ข้อศอก เราสามารถออกกำลังของแขนข้างนั้นได้โดยการกำมือ บีบ เกร็งกล้ามเนื้อเบาๆ อย่าให้ถึงกับเจ็บ ทำได้บ่อยๆ
   เมื่อพ้นระยะของการอักเสบ เราต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นการลีบอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรือการยึดติดของข้อ
ดังนั้นต้องออกกำลังและเคลื่อนไหวบริเวณข้อที่บาดเจ็บให้มากขึ้น
ข้อควรระวัง คือต้องทำในขนาดที่พอเหมาะไม่มากเกินไปจนเกิดการบาดเจ็บซ้ำอีก ต้องทำช้าๆ และเริ่มจากเบาๆ ก่อน
ให้ใช้ความรู้สึกเจ็บเป็นตัวกำหนด ถ้ารู้สึกเจ็บมากก็แสดงว่าทำมากหรือรุนแรงเกินไป
      ฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรง      ร่างกายจะพร้อมมากขึ้นในช่วง 3-6 สัปดาห์หลังจากได้รับบาดเจ็บ  เราจะพยายามฟื้นฟูร่างกายให้คืนสู่สภาพปกติ แต่ต้องจำไว้ว่าต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าใจร้อน 1. เริ่มออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรง  เช่นการยกน้ำหนักเท่าที่เราสามารถยกได้ และค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้น 2. ออกกำลังเพื่อเพิ่มความทนทานควบคู่ไปด้วยซึ่งทำได้โดยการใช้น้ำหนักต้านที่เบาๆ (หนักประมาณ 20-40% ของน้ำหนัก ที่สามารถยกได้) แต่ต้องยกติดต่อกันหลายๆครั้ง 3. ต้องเพิ่มความทนทานให้ระบบหัวใจ หลอดเลือด และปอดด้วย ทำได้โดยการออกกำลังแบบแอโรบิก ต่อเนื่องกันประมาณ 30 นาที  
        *การออกกำลังกายแบบนี้ควรทำต่อเนื่องมาตั้งแต่แรกไม่ควรหยุดถ้าไม่มีผลเสียต่อส่วนที่บาดเจ็บ  เช่น เคยออกกำลังแบบแอโรบิกด้วยการวิ่งอยู่เป็นประจำแล้วเกิดข้อมือซ้นจากการเล่นบาสเกตบอล ก็ยังคงสามารถวิ่งออกกำลังได้ตามปกติ
                         เมื่อสภาพร่างกายพร้อมมากขึ้นให้เริ่มฝึกตามประเภทของกีฬาที่เล่น เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและ
        ความเร็ว อย่าลืมว่าเป็นแค่การฝึก ระวังอย่าให้รุนแรงหรือมากเกินไป
      กลับไปแข่งขันได้หรือยัง            ปัญหาที่พบบ่อยๆ ก็คือการบาดเจ็บที่เกิดซ้ำขึ้นอีก เนื่องจากใจร้อนกลับไปเล่นกีฬาในสภาพที่ร่างกายยังไม่พร้อม ก่อนที่จะกลับไปเล่นกีฬาได้เต็มที่โดยเฉพาะในระดับการแข่งขัน จะต้องมีการทดสอบและแน่ใจว่าร่างกายมีความสมบูรณ์ พร้อมมากกว่า  95%  ขึ้นไป